ร่วมมือระหว่างชาติรึ? นั่นมันแค่ฉากบังหน้าต่างหาก เพราะเกมนี้คือศึกแย่งกันหน้าสั่นในสถานีอวกาศนานาชาติ ISS
นี่คือหนึ่งในซีรีย์เกมที่ขึ้นต้นด้วยปี 19xx กับคอนเส็ปเกมกล่องเล็กแต่คมคาย งานดีจากประเทศสเปน
ISS ย่อมากจาก International Space Station ที่สถานีอวากาศที่ปัจจุบันคนกว่า 15 เชื้อชาติขึ้นไปใช้งานร่วมกันเพื่อทำโปรเจควิจัยแห่งอนาคต
แม้เกมจะมีขนาดแค่ฝ่ามือ แต่เมื่อแผ่อุปกรณ์ออกมาเพื่อเล่น ก็เทียบเท่าเกมใหญ่เลยทีเดียว
เกมเล่นได้ 1-4 คน และใช้เวลา 1 ชั่วโมง
โดยระบบของบอร์ดเกม 1998 ISS มีหลายอย่างผสมผสานกัน ทั้งการวางแผนและความแย่งชิงจังหวะสไตล์ปาร์ตี้เล็กๆ
เป้าหมายเกมคือการทำคะแนนให้ได้มากที่สุด ซึ่งคะแนนมาจากหลายทาง ทั้งการทำวิจัย การชิงเป็นคนสุดท้ายที่ทำให้ยานอวกาศขึ้น การไปเปิดฝาโมดูลออก หรือแม้แต่การนอนเฉยๆ (จริงๆนะ)
พื้นที่ส่วนนึงของเกม คือ ตัวสถานี ISS ที่ประกอบขึ้นจากกระดานและการ์ดโมดูล
โมดูลนี่ เปรียบเหมือนห้องทำงานย่อยๆที่จะทยอยขึ้นไปเสียบกับยานแม่ในอวกาศและมีงานให้ทำในโมดูลนั้น
พื้นที่อีกส่วนของเกม คือพื้นที่ทำแอคชั่น ซึ่งเซ็ตอัพด้วยการ์ด
การ์ดสีเหลือง : Earth Action หรืองานที่ทำบนโลก
เช่น การส่งคน (train astronauts) , ส่งของขึ้นยาน (load materials) , การเตรียมแผนการวิจัย (plan experiment) และสร้างโมดูล (construct module)
การ์ดสีม่วง : ISS Action หรืองานบนสถานีอวกาศ
อันได้แก่ การวิจัย (conduct experiment) , การเปิดฝาโมดูล (Install module) , การทำงานภายนอกสถานี (Outside job) , และการอาสาไปนอน (long stay)
ระหว่างการ์ดแอคชั่นสองฝั่งจะแทรกกลางด้วยการ์ดโมดูล
ช่องแอคชั่นไปซ้ำกันได้ไม่มีปัญหา แต่ทุกครั้งที่เราวาง Cube เพื่อทำแอคชั่น เราจะได้จบตาด้วยการดัน Cube เข้าสู่โมดูล และ Count down ด้วย
การ Count down คือ การเลื่อนเวลาถอยหลัง เพื่อนำยานอวกาศขึ้นสู่วงโคจร
ยานในเกมนี้มีของสองจ้าว คือ รัสเซีย และ อเมริกา เราจะ Count down ใส่ลำไหนก็ได้ขอแค่มีคนหรือมีของบนยานนั้น
ยานชาติไหนไม่สน เพราะทุกคนขึ้นได้หมดขอแค่ขึ้นให้ทัน!! ยานจะบรรจุคนขึ้นไปได้จำกัด แต่ขน Material ขึ้นไปได้ไม่จำกัด
ส่วนคนและของนั้นเป็นสมบัติส่วนตัว แบ่งแยกด้วยสีของใครของมัน
ส่วน Cube บนการ์ดโมดูล อันไหนมีมากสุด โมดูลนั้นจะได้ขึ้นสู่อวกาศไปพร้อมกับยานด้วย
การลงแอคชั่นตรงไหนจึงต้องคิดถึงการสร้าง majority ในโมดูลด้วย
ใครปล่อยยานได้เก็บการ์ดยานไปเป็นแต้ม
ส่วนคนที่ใส่ Cube ไว้มากกว่าใครจะได้รางวัลเป็น Extra action
เกมมีจุดให้ชิงแต้มเต็มไปหมด
พอขึ้นไป ISS ได้ เราก็เริ่มแตกตัวทำงานต่างๆเพื่อหาแต้มตามช่องต่างๆ
และแน่นอนว่า ของที่เราเอาขึ้นไปเราย่อมใช้ได้คนเดียวไม่แบ่งชาติอื่น
พยายามไล่ทำตามใบ Experiment ที่เรามีให้หมด ตรงนี้คึอแหล่งคะแนนใหญ่
ระบบการโยกย้ายตัวนักบินเพื่อทำงานก็มีความน่าสนใจ
หลักๆนักบินจะพักในห้อง Unity
แต่จะแตกตัวไปทำงานตามช่องบนโมดูลด้วย ซึ่งงานมี 3 แบบ
1. งานระยะสั้น ต้องเอาตัวที่ว่าง หรือตัวที่ทำงานจุดอื่น หรือตัวที่ทำงานตรงนั้นอยู่แล้วก็ได้
ทำงาน แล้ว >> กลับห้องพัก Unity
2. งานระยะยาว ต้องเอาตัวที่ว่าง หรือตัวที่ทำงานจุดอื่น หรือตัวที่ทำงานตรงนั้นอยู่แล้วก็ได้
ทำงาน แล้ว >> ยืนคาช่องไว้ยาวๆ (บล็อกช่องชาวบ้าน)
3. งานจ่าย Material
ใบงาน Experiment 1 ใบอาจบรรจุหลายงานในคราวเดียว ลำดับการโยกย้ายตัวให้ดี หาช่องว่างให้เจอ ทำงานให้ครบ จึงจะปิดจ๊อบส์
มันจะมีอยู่ช่องนึงเป็นรูปบ้าน ช่องนี้แหละเอาไว้นอนหลับ!!
ในคู่มือบอกว่า การนอนนานๆในอวกาศคือหนึ่งในการวิจัยผลกระทบ งานนี้เลยมีแต้มแยกต่างหาก
มานอนบ่อยๆแล้วได้ดัน track แต้มจบเกม
แต่ตรงนี้เมื่อนอนแล้วจะต้องนอนยาว จะได้ออกจากการนอนก็ต่อเมื่อมียานลำใหม่นำนักบินคนใหม่ขึ้นมาเท่านั้น
บล็อกช่องสุดๆ เห้ย ขอเรานอนบ้างเด้
เกมเลยบิ้วให้เราผลักดันโมดูลที่ต้องการขึ้นอวกาศให้ได้ จะได้มีช่องทำงานที่เราต้องการ
และยังมีงาน Outside Job ที่เมื่อทำจะได้ย้ายของจาก track Internal Materials ไปยัง External material ด้วย
ตรงนี้ของที่เราย้ายออกจะมีค่าคะแนนชิ้นละแต้ม
โมดูลใหม่ที่ขึ้นไปมันจะปิดฝา ต้องทำการ Installation เพื่อเปิดฝาออกจึงจะเป็นช่องให้ทำงานได้
คนเปิดฝาได้ฝาละ 2 แต้ม
เกมนี้ได้ทำผลัดกันเล่นเพียงคนละ 1 แอคชั่น เลยเกิดการชิงจังหวะกันแบบสนุกสุดๆ
เธอเอาของขึ้นรึ งั้นฉันปล่อยยาน อีกคนรีบแจ้นไป้ปิดฝา Installation อีกคนโดนให้ออกจากห้องนอนหลับ อีกคนรีบแจ้นเข้าไปนอนเอาคะแนน
ประมาทกันไม่ได้เลยสักวินาที
เป็นอีกเกมที่ระบบแปลกใหม่ ผสมผสานกันจนสนุก ซับซ้อนแต่ก็ปาร์ตี้
เป็นเกมนอกกระแสที่อยากแนะนำให้คุณลองเล่นดูจริงๆ
เกมนี้มีรีวิววิธีการเล่นเป็นคลิปด้วย ทำไว้แล้วเพราะหาคลิปดูยาก ส่วนมากเป็นภาษาสเปนบ้างเยอรมันบ้าง
ขอบคุณที่กดไลค์ และติดตามจ้า